วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

อุทยานบึงบัวอุบลราชธานีมูลนิธิ


ใต้ฟ้าเมืองดอกบัว
ถิ่นไทยงามนามอุบล ชนนักปราชญ์
แหล่งรวมศาสตร์ แหล่งธรรม นำอิสาน
บัวชูช่อล้อดอกคูณ มูลสายธาร
เทียนตระการดงอู่ผึ้ง ซึ้งสุขใจ
อุทยานบึงบัวอุบลราชธานี
       ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี มีนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบองค์รวมคือ ทุกองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ประชาชนร่วมกันปลูกบัวทั่วเมืองกระบวนทัศน์พัฒนาคุณภาพชีวิตแบบองค์รวม อุบลราชธานี
อุบลฯ และการมีส่วนร่วมก่อตั้งอุทยานบึงบัวอุบลราธานีเฉลิมพระเกียรติฯ ร.๙ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบองค์รวม โดยน้อมนำปฏิบัติพัฒนาตามแนวพระราชดำริ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
อุทยานบึงบัวอุบลราชธานีเฉลิมพระเกียรติ ร.๙   ตั้งอยู่ที่ อบต.หนองขอน อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
อุทยานฯชั้นใน ในพื้นที่หนองน้ำสาธารณะ และผืนดินโดยรอบ ประมาณ ๕๑๙ ไร่  ประกอบด้วย
- กลางหนองน้ำ มีอาคารหอเทียนชัยอุบลราชธานีเป็นอาคารสูงประมาณ ๑๕๙ เมตร( ๒๗ ชั้น) มีองค์ประกอบสำคัญเช่น ยอดบนสุดของอาคาร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ ในพระพุทธรูปทองคำ หนักประมาณ ๙ กิโลกรัม  ,อนุสรณ์สถานพระบูรพาจารย์แห่งอีสานพระอริยสงฆ์ ทั้งฝ่ายคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ ประมาณ ๙ รูป  ,ที่สักการะเทิดพระเกียรติองค์พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์จักรี  ,หอชมทัศนียภาพอุบลราชธานีที่สวยสดงดงาม  ,ห้องพักประหยัดพลังงาน ๑๒๘ ห้อง  ,มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจหลากหลาย  ,มีห้องประชุมเล็ก  ใหญ่  จัดนิทรรศการ  ,มีหอเกียรติคุณอุบลราชธานีเมืองนักปราชญ์  ,มีพิพิธภัณฑ์เทียนอุบลฯ  ,พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจืดอนุภาคลุ่มน้ำโขง(อุโมงค์ชมปลาใต้น้ำ)
- การจัดภูมิทัศน์ รอบหนองน้ำ นั่งรถรางชมสวน เล่นกีฬาทางน้ำ ส่วนหย่อม ศาลาพักผ่อน ร้านค้าสินค้าพื้นเมือง( OTOP)และสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ(จำลอง)ของอุบลราชธานี เช่น ถ้ำคูหาสวรรค์ ,ผาแต้ม ,น้ำตกแสงจันทร์ ,น้ำตกสร้อยสวรรค์  สามพันโบกฯลฯ  งานประติมากรรม กลางน้ำ กลางแจ้ง ของครูช่างศิลปินชาวอุบล  มีศูนย์วิจัยอนุรักษ์พัฒนาพันธุ์บัว  ตั้งแต่พันธุ์บัวระดับพื้นถิ่น  ระดับชาติ  ระดับนานาชาติ และพันธุ์บัวพระราชทาน  ,มีศูนย์ส่งเสริมุขภาพทั้งกายและจิต  ,มีสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนาคริสต์  อิสลาม  และมีสถานที่จัดเป็นอนุสรณ์สถานชาวอินโดจีนทั้งมวล
- สถานที่จอดรถไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ คัน
 อุทยานฯชั้นนอก ประกอบด้วย
-อุทยานการเรียนรู้ศึกษาของเกษตรกรไทย การเกษตรปลอดสารพิษตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
-พัฒนาถนนสายบัวเฉลิมพระเกียรติ จากบ้านยางน้อย ถึงหอนาฬิกาอุบลฯความสำเร็จขึ้นอยู่กับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนโดยการหลอมจิตหลอมใจร่วมไม้ร่วมมือ ด้วยความรู้รักสามัคคีอย่างพร้อมเพรียงกัน  จึงจะทำให้อุทยานบังเกิดผลสำเร็จตามเจตนารมณ์ของชาวอุบลราชธานีร่วมกัน


                                       คำขวัญจังหวัดอุบลราชธานี 
เมืองแห่งดอกบัวงาม  แม่น้ำสองสี  มีปลาแซบหลาย  หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ไฝ่ธรรม  งามล้ำเทียนพรรษา  ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เที่ยวงานแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี

ชวนเที่ยวงานประเพณีแห่เทียนพรรษา และงานประติมากรรมเทียนนานาชาติ ณ จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 1 ก.ค. 2554- 31 ก.ค. 2554ภายในงาน ชมขบวนแห่เทียนพรรษาสวยงามกว่า 60 ขบวน การประกวดต้นเทียน (ประเภทแกะสลักและประเภทติดพิมพ์) การแข่งขันแกะสลักเทียนพรรษาระดับเยาวชน การแกะสลักเทียนและติดพิมพ์ บริเวณคุ้มต่าง ๆ งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นประเพณีทางพุทธศาสนา ของชาวอุบลฯ ซึ่งมีความเจริญในพุทธศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีมาเป็นเวลายาวนาน ถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้กำหนดจัดงานขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 และแรม 1 ค่ำเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา จัดให้มีขึ้นทุกปี จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ ได้ความว่า ชาวอุบลราชธานี ได้ทำต้นเทียนประกวดประชันความวิจิตรบรรจงกัน ตั้งแต่ พ.ศ.2470 จนเมื่อปี พ.ศ.2520 จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษา ให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และแสดงแสงเสียง การแสดงทางวัฒนธรรม การแสดงและจัดจำหน่ายสินค้า หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การรวมศิลปินแห่งชาติและดารานักร้องดังที่เป็นชาวอุบลฯ การจัดทำของที่ระลึกเพื่อจัดจำหน่ายและกิจกรรมอื่นอีกมากมาย
นอกจากนั้นยังมีการประกวดธิดาเทียนพรรษา การประกวดภาพถ่าย ความประทับใจในงานเทียน การ
คำขวัญของจังหวัดอุบลฯ  ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม  งามล้ำเทียนพรรษา ภูมิปัญญาชาวอุบลฯ
มโหฬาร สถานที่จัดงานคือ บริเวณทุ่งศรีเมืองและศาลาจตุรมุข มีการประกวดต้นเทียน 2 ประเภท คือ ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก โดยขบวนแห่จากคุ้มวัดต่างๆ พร้อมนางฟ้าประจำต้นเทียน จะเคลื่อนขบวนจาก หน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม ไปตามถนน มาสิ้นสุดขบวนที่ทุ่งศรีเมือง และการแสดงสมโภชต้นเทียน แลเป็นแสงไฟต้องลำเทียนงามอร่ามไปทั้งงาน ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 เป็นต้นมา งานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี มีชื่องานแต่ละปี

สถานที่ท่องเที่ยวอุบลหินโยกมหัศจรรย์

หินโยกมหัศจรรย์ เป็น"แหล่งท่องเที่ยว"ที่มีชื่อในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นหินขนาดใหญ่หนักขนาดห้าตัน และนักท่องเที่ยวสามารถโยกได้ด้วยมือเดียว สถานที่ตั้งห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติผาแต้ม ประมาณสี่สิบแปด กิโลเมตร และห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติผาแต้ม(หน่วยพิทัษณ์ป่า คันท่าเกวียน ) ในทางเดินเท้าประมาณหกกิโลเมตร อยู่ในเขตหมู่บ้านคันท่าเกวียน อำเภอนาโพธิ์กลาง ตำบลห้วยไผ่ จังหวัดอุบลราชธานี ฤดูการท่องเที่ยวที่เหมาะสมมากที่สุดจะอยู่ในช่วงปลายฝนต้นหนาวประมาณเดือนตุลาคม-ธันวาคม โดยนักท่องเที่ยวก็ต้องเตรียมเต็นท์ เครื่องนอน และเสบียงอาหารขึ้นมาเอง แม้ว่าจะมีพ่อค้ามีแม่ขายก็ตามแต่ในฤดูกาลท่องเที่ยวก็ไม่ควรประมาท หรือหาที่พักตามโรงแรมต่างๆตามสะดวก

3,000โบก



สามพันโบก  ถือว่าเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในลำน้ำโขงเท่าที่ทราบกันมา ซึ่งในบริเวณเดียวกัน  มีสถานที่ที่ชาวบ้านเรียกว่า  แกรนแคนยอนน้ำโขง  อันเกิดจากการกัดเซาะของน้ำหลายพันปี  เป็นร่องน้ำขนาดใหญ่ แก่งหินสามพันโบก เป็นกลุ่มหินทรายแนวเทือกเขาภูพานตอนปลายที่ทอดตัวยาวริมฝั่งโขงไทยและลาว  สายน้ำแคบและเป็นคุ้งน้ำ  ริมฝั่งโขงบริเวณนี้เป็นกลุ่มหินที่เรียงตัวทอดยาว เป็นสันดอนขนาดใหญ่พื้นที่กว่า 30 ตารางกิโลเมตร ผาหินบริเวณโค้งด้านหน้ารับแรงน้ำที่ไหลจากตอนบน  ก่อเกิดประติมากรรมธรรมชาติที่งดงาม จุดเด่นที่น่าสนใจคือ โบก อันเกิดจากกระแสน้ำได้พัดพาก้อนกรวด หิน  ทราย  และเศษไม้  กัดเซาะขัดแผ่นหินทรายให้เกิดเป็นหลุมแอ่ง  มีขนาดเล็กๆจนถึงขนาดใหญ่จำนวนมากมาย หินบางก้อนถูกกัดกร่อนคล้ายงานแกะสลักเป็นรูปสัตว์ รูปหัวใจ รูปมิกกี้เมาส์จากโบกจำนวนมากมาย  จนสถานที่แห่งนี้ถูกขนานนามว่า  สามพันโบก แก่งสามพันโบก เป็นแก่งหินที่อยู่ใต้ลำน้ำโขงในช่วงฤดูน้ำหลาก  ประมาณเดือนกรกฏาคม – เดือนตุลาคม  และโผล่พ้นน้ำอวดความงามให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมได้  ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – มิถุนายน ทุกปี ล่าสุดไปมา 24 มิถุนายน 2553  เปิดตำนานสามพันโบก จากประติมากรรมหินทรายที่มีรูปร่างดงามแปลกตา ก่อเกิดตำนานเรื่องเล่าตำนานพญานาคชุดแม่น้ำโขง  ทุ่งหินเหลื่อม  หินหัวสุนัข  และปู่จกปู ตำนานหินหัวสุนัข   ทางเข้าของแกรนด์แคนยอนแม่น้ำโขง  มีหินสวยงามลักษณะคล้ายหัวสุนัข  ซึ่งมีตำนานเล่าขานกันต่างๆ นานา  บ้างก็ว่า แต่ก่อนมีเจ้าเมืองเป็นผู้เรืองอำนาจประทับใจความงามของสามพันโบก  จึงได้ส่งเสนามาศึกษาเพิ่มเติม  เมื่อมาแล้วพบขุมทรัพย์เป็นทองคำ  จึงให้สุนัข เฝ้าทางเข้าจนกว่าเจ้าเมืองจะออกมา  เมื่อเจ้าเมืองได้เห็นสมบัติเกิดความโลภ  กลัวเสนาจะได้ส่วนแบ่งจึงได้ออกไปทางอื่น  สุนัขผู้ภักดีก็เฝ้ารออยู่ตรงนั้นจนตายในที่สุด  บางตำนานก็ว่าลูกพญานาคในลำน้ำโขงเป็นผู้ขุดเพื่อให้เกิดลำน้ำอีกสายหนึ่งและได้มอบหมายให้สุนัขเป็นผู้เฝ้าทางระหว่างการขุดจนกระทั่งสุนัขได้ตายลงกลายเป็นหินรูปสุนัขในที่สุด  ตำนานหาดหินสี  หรือทุ่งหินเหลื่อม  ทุ่งหินเหลื่อมอยู่ในพื้นที่บ้านคำจ้าว  ตำบลเหล่างาม  อำเภอโพธิ์ไทร  เป็นกลุ่มหินสีที่มีลักษณะแปลกตา  คือหินแต่ละก้อน  จะมีผิวเรียบเป็นมันประกอบด้วยสีเหลือง เขียว ม่วง น้ำเงิน  มีขนาดตั้งแต่ก้อนเล็กเท่ากำปั้นและก้อนใหญ่สุดมีขนาดใหญ่กว่า 3 เมตร  กระจายเป็นกลุ่ม 3 กลุ่มใหญ่  หินแต่ละก้อนถ้านำมาเรียงต่อกันจะเชื่อมกันได้สนิทคล้ายจิ๊กซอว์หินสี  จากตำนานชาวบ้านที่เล่าขานต่อกันว่ากลุ่มหินสีดังกล่าวคือทองคำพญานาค  ซึ่งเกิดจากการขุดสร้างแม่น้ำโขงของพญานาคตัวพ่อและตัวแม่ส่วนร่องน้ำเล็กที่คู่ขนานกับแม่น้ำโขงเป็นผลงานของลูกพญานาคที่ขุดเล่น จนเกือบทะลุกับแม่น้ำโขง ลูกพญานาคพบหินเหมือนทองคำ  จึงขุดขึ้นกองไว้เป็นบริเวณกว้างประมาณ 2 ไร่  ทุ่งหินเหลื่อม  ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาศึกษาอย่างเป็นทางการ จึงมีคำถามที่รอคำตอบมากมาย  ว่าหินกลุ่มนี้มากจากไหน หรือเกิดขึ้นอย่างไร และคำตอบจากนักท่องเที่ยวทุกคนคือ  ความมหัศจรรย์ของธรรมชาตินั่นเอง
 การเดินทางไปเที่ยวชมสามพันโบก อยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ 120 กม. ตามทางหลวงอุบล - ตระการ - โพธิ์ไทร  ทำได้ 2 ทางคือ
 เดินทางท่องเที่ยวทางเรือ ไปยังแก่งสามพันโบก  นิยมนั่งเรือจากหาดสลึงที่บ้านปากกะกลาง  ต.สองคอน  ล่องตามลำน้ำโขงระยะทาง 4 กิโลเมตร  ระหว่างทางจะผ่าน “ปากบ้อง” จุดแคบที่สุดของแม่น้ำโขง  หาดสลึง หินหัวพะเนียง  เป็นแก่งหินกลางแม่น้ำที่ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย  หรือสองคอนในภาษาท้องถิ่น  จึงเป็นที่มาของชื่อบ้านสองคอนและสามพันโบก  ศิลาเลข  หาดหงส์ รายละเอียดเส้นทางเที่ยวทางเรือปากบ้อง  เป็นจุดชมวิวที่หมู่บ้านสองคอน  ตำบลสองคอน  อำเภอโพธิ์ไทร  จังหวัดอุบลราชธานี  เป็นจุดที่แม่น้ำโขงไหลพาดปะทะแนวเทือกเขาภูพานตอนปลาย การปะทะกันของพลังธรรมชาติอันยิ่งใหญ่  ก่อให้เกิดภูมิประเทศที่มหัศจรรย์มากมาย  ซึ่งจะสัมผัสได้ยามที่แม่น้ำโขงลดระดับลงได้ที่ในยามฤดูแล้งราวเดือนพฤศจิกายน -  มิถุนายน  ตลอดระยะทางที่ไหลผ่านประเทศไทย  ยาวกว่า 700 กิโลเมตร  เป็นจุดที่แม่น้ำโขง  แคบที่สุด  “ปากบ้อง” เป็นหน้าผาหินที่เกิดจากรอยแยกตัวของแผ่นหินทรายเปลือกโลก  ลักษณะเหมือนคอขวด  ส่วนที่แคบที่สุดวัดได้ 56 เมตร
 หินหัวพะเนียง  อยู่ในพื้นที่หมู่บ้านสองคอน  ตำบลสองคอน  อำเภอโพธิ์ไทย จังหวัดอุบลราชธานี  ลักษณะทางภูมิศาสตร์  เป็น เกาะหินขนาดใหญ่กลางแม่น้ำโขงรูปร่างคล้ายอุปกรณ์ประกอบคันไถ  อยู่ถัดจากบริเวณปากบ้องขึ้นไปทางเหนือประมาณ 500 เมตร  เกาะหินใหญ่โผล่ขวางกลางลำน้ำโขง  หินหัวพะเนียง  มีรูปร่างคล้ายใบไถไม้ (ในภาษาถิ่น พะเนียงคือแท่นไม้ที่ใช้สวมใบไถเหล็ก)  ชาวบ้านจึงเรียกว่า  หินหัวพะเนียง  แต่ลักษณะหินในบริเวณนี้บางกลุ่มจะเป็นช่อแหลมคม  ซึ่งเกิดจากการปะทุขึ้นมาของหินทรายร้อนคล้ายหินภูเขาไฟ  แต่ไม่ใช่แมกมาหรือลาวา  เมื่อปะทุขึ้นมาปะทะกับกระแสน้ำเย็นจึงแข็งตัวกลายเป็นหินที่มีลักษณะเป็นช่อเรียกว่า “หินหัวพะเนียง” เป็นเกาะกลางแก่งหินกลางแม่น้ำที่ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย



สถานที่ท่องเที่ยวอุบล

ถึงแม้ในเมืองมีความวุ้นวายแต่ถ้าอยากหนีละก็"แหล่งท่องเที่ยวจ.อุบลราชธานี"มีที่ท่องเที่ยวมากมายเช่น ป่าดงนาทามอยู่ทางเหนือของอุทยาน แห่งชาติผาแต้ม ด้านตะวันออกสุดของคมขวานติดกับแม่น้ำโขง มีพื้นที่ประมาณ 88 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงสลับกับภูเขาหินทราย มีหน้าผาสูงชัน ริมแม่น้ำมีพลาญหิน หรือลานหิน เสาเฉลียง และแท่งหินรูปทรงแปลกตา กระจายอยู่ทั่วไป สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง แทรกด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าสนสองใบ ในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะมีดอกไม้บานสะพรั่งเต็มลานหินแหล่งท่องเที่ยวมีความงดงามแบบธรรมชาติ
ธรรมชาติแห่งผืนป่าดงนาทาม
ป่าดงนาทามเหมาะแก่การเดินป่าศึกษา ธรรมชาติ เพราะนอกจากความหลากหลายของพืชพรรณและไม้ดอกสวยงามแปลกตาหลายชนิดแล้ว ยังมีน้ำตกขนาดเล็กและขนาดกลาง มีน้ำมากในช่วงเดือนกันยายน - ธันวาคม ได้แก่ น้ำตกกิ๊ด น้ำตกชะปัน น้ำตกห้วยพอก น้ำตกกวงโตน น้ำตกซ้อย และน้ำตกทุ่งนาเมือง หน้าผาริมโขงมีหลายแห่ง เช่น ผาชะนะได ผากำปั่น ผาหินแตก ผาจ้อมก้อม ผาแดง ผาหินฝน และผายะพืด เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์แม่น้ำโขง ทะเลหมอกที่งดงามยามเช้า ชมพระอาทิตย์ขึ้นก่อนใครที่ผาชะนะได จุดแรกที่เริ่มนับเวลาการมาเยือนแผ่นดินไทยของพระอาทิตย์ในแต่ละวัน เสาเฉลียงและหินรูปร่างแปลกตา ได้แก่ หินเต่าชมจันทร์ เสาเฉลียงคู่ เสาเฉลียงภูจ้อมก้อม ลานหิน และดอกไม้ดิน บริเวณวัดภูอานนท์ ถ้ำไฮ ภูโลง ผายะพืด ถ้ำ ได้แก่ ถ้ำปาฏิหาริย์ ถ้ำฝ่ามือแดงบ้านปากลา ภาพเขียนสีที่โหง่นแต้ม ผาวัดภูอานนท์ และถ้ำฝ่ามือแดง
เส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ประกอบด้วย 2 เส้นทาง คือจากจุดเริ่มต้นที่วัดถ้ำปาฏิหาริย์ และจากหน่วยพิทักษ์ป่าที่ 4 บ้านทุ่งนาเมือง ทั้ง 2 เส้นทางนี้จะไปบรรจบกันที่น้ำตกห้วยพอก ซึ่งเป็นจุดที่เหมาะในการพักแรมกางเต็นท์ เพราะมีลานหินกว้างและอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ระยะเวลาที่เหมาะในการเดินป่าดงนาทามประมาณ 2 วัน 1 คืน ถ้าท่านใดไม่อยากพักเต็นก็มีที่พักราคาประหยัดให้บริการ

สถานที่ท่องเที่ยวอุบล

น้ำตกแสงจันทร์ หรือ น้ำตกรู เป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ที่อำเภอโขงเจียม ใช้ทางหลวงหมายเลข 2314 (โขงเจียม – ศรีเมืองใหม่) ตามทางหลวงหมายเลข 2112 ทางไป อ.เขมราฐ ระหว่างทาง ผ่าน อุทยานแห่งชาติผาแต้ม และน้ำตกสร้อยสวรรค์ ถึงก่อนน้ำตกทุ่งนาเมือง 1 ก.ม.  รถยนต์เข้าถึงได้บริเวณหน้าน้ำตก เป็นแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี และพิเศษคือ สายน้ำจากลำห้วยท่าล้ง จะตกลงปล่องหินลงสู่เบื้องล่าง ซี่งมองดูแล้ว คล้ายกับแสงจันทร์ที่เต็มดวงได้สาดส่องลงมา อีกทั้งเมื่อสายน้ำกระทบสู่ผืนน้ำเบื้องล่างยังจะกระจายตัวเป็นรูปหัวใจสีขาวน่าอัศจรรย์ บริเวณโดยรอบนั้น มีโขดหินน้อยใหญ่เรียงรายกันอยู่ และมีต้นไม้นานาพันธุ์ ซึ่งดูแล้วคล้ายกับสวนญี่ปุ่น บริเวณเบื้องล่างนั้นเป็นถ้ำ ซึ่งสามารถตั้งแคมป์ได้เป็นอย่างดี ฤดูที่ควรไปเที่ยวคือ ฤดูฝน ถึงย่างเข้าฤดูหนาว น้ำตกแสงจันทร์เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามและมีลักษณะพิเศษ คือ น้ำตก ตกลงผ่านปล่องหินสู่เบื้องล่าง มองดูคล้ายแสงจันทร์ซึ่งเต็มดวงสาดส่องมายังพื้นโลก บริเวณโดยรอบมีโขดหินน้อย ใหญ่เรียงรายกันอยู่ และมีต้นไม้นานาพรรณ นอกจากนี้ยังมีสถานที่น่าสนใจอื่น ๆ อีก ได้แก่ ผาเจ็ก ผาเมย ภูนาทาม ภูโลง สวนหิน ภูกระบอ ภูจ้อมค้อม น้ำตำห้วยพอก ฯลฯ ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์สวยงามเหมาะสำหรับการเดินทาง ท่องเที่ยวแบบทัวร์ป่า

สัญลักษณ์ และคำขวัญจังหวัดอุบลราชธานี

       คำขวัญของ จังหวัดอุบลราชธานี
                                                 "เมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี  
                                                  มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน 
                                                  ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรมรูปดอกบัว
                                             งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์

....รูปดอกบัวตูม และดอกบัวบาน ชูช่อก้านใบเหนือหนองน้ำ เป็นสัญลักษณ์ ระลึกถึงชาวเมืองหนองบัวลำภู ในเขตจังหวัด อุดรธานี..และเป็นจังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน ภายใต้การนำของพระวอ และบุตรหลานพระตา ที่อพยพหนีภัยสงครามกับ เมือง เวียงจันทน์ ลงมาตั้งรกรากในเขตจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อประมาณ พ.ศ.2312 ต่อมาชุมชนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "เมืองอุบลราชธานี ศรีวนาลัย" เมื่อ วันจันทร์.
.เดือน 8 แรม 1 ค่ำ ปีชวด พ.ศ.2335 ในรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชองค์ปฐม บรมราชจักรีวงศ์
                                          
                                                 ธงประจำจังหวัดอุบลราชธานี
                                           ด้านบนของธง จะมีรูปดอกบัวสีชมพูบาน ปักอยู่บนพื้นสีชมพู
                             ด้านล่าง จะมีอักษรสีขาว คำว่า "อุบลราชธานี" ปักอยู่บนพื้นสีเขียว

ผ้าประจำจังหวัด
"ผ้ากาบบัว" เป็นชื่อผ้าในวรรณกรรมโบราณอีสาน ซึ่งไม่อาจทราบหรือพบในปัจจุบันแล้ว สีของผ้ากาบบัวหรือกลีบบัว จะไล่กันไปจากสีอ่อนไปถึงแก่ คือ ขาว ชมพู เทา เขียว น้ำตาลและชื่อของผ้ากาบบัว จะมีความหมาย และเหมาะสมกับชื่อของจังหวัดอุบลราชธานี
เพลงประจำจังหวัดอุบลราชธานี
ผู้แต่ง : เทอด บุณยรัตพันธุ์
             อุบลราชธานีนี้ไทยดีเมืองหนึ่ง หากอยู่ถึงแดนแม่โขง ที่คดโค้งไหลไปเป็นทาง ไหลไปหว่างกลางไม่มีเหินไม่มีห่างพี่น้องไทยอยู่ทางพี่น้องลาวอยู่ทาง อุบลราชธานีนี้เป็นที่ชุมนุม แห่งดอกโกสุมหรือเจ้าปทุมมา นั้นคือดอกบัวบานตระการก้านใบมีดีอย่างไรทั่วแคว้นแดนไทยไม่น้อยหน้าใครไม่น้อยหน้าใคร ....รักษาคุณความดีเหมือนบัวมีสีรื่นรมย์กลิ่นหอมชื่นชม ภิรมย์หฤหรรกลิ่นหอมบัวนั้นสุขสันต์เพิ่มพูน อยู่ในแม่น้ำมูล นั้น